ก.ล.ต.ไฟเขียวให้ SE ระดมทุนได้ โดยไม่ต้องยื่นไฟลิ่ง แต่ต้องไปขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม และต้องเป็นกิจการที่ไม่แสวงหากำไร
มงคล ลีลาธรรม อดีต CEO SME Development Bank กล่าวว่า หลังจากพระราชบัญญัติ หรือ พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว รัฐบาลเมื่อปลายปีที่แล้ว ก็ประกาศวิสาหกิจเพื่อสังคม หรือ SE (Social Enterprise) เกือบ 140 SE ซึ่งจะมีอยู่เกือบทุกจังหวัด ประมาณ 70 จังหวัดทั่วประเทศ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งให้คนในพื้นที่ หรือระดับชุมชนรวมตัวกัน เพื่อแก้ปัญหาของตัวเอง
โดยไม่จำเป็นต้องรอรัฐบาล หรือ รอโครงการต่างๆ ของภาครัฐเข้าไปช่วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ที่ จ.เชียงใหม่
มีการรวมตัวกันเพื่อลดการเผาเพื่อการเกษตร มีชุมชนหลายแห่งรวมตัวกัน โดยมีนักธุรกิจรุ่นใหม่ ที่เอาฟางข้าว
หรือข้าวโพด มาแปรรูป ทำให้ไม่ต้องเผา ก็จะแก้ปัญหาได้ 3 ด้าน คือ แก้ปัญหาระดับชาติเรื่อง PM 2.5 รักษา
สิ่งแวดล้อม และสามารถนำสิ่งเหล่านี้มาทำธุรกิจได้ด้วย
โดยนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นกระดาษห่ออาหาร กล่องกระดาษ หรือมาเป็นจานแทนกล่องโฟม สิ่งเหล่านี้
สามารถพัฒนาได้ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ก็เปิดให้
บริษัทเหล่านี้ เมื่อตั้งเป็นนิติบุคคล เอามาขายหุ้นโดยไม่ต้องขออนุญาต ไม่ต้องยื่นไฟลิ่งถึง ก.ล.ต. ซึ่งได้มีการ
ประกาศบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ปกติการเข้าตลาด SET หรือ ตลาด mai จะต้องยื่นไฟลิ่ง คือต้องเปิดเผยข้อมูล ต้องมีหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแล
และต้องมีผู้สอบบัญชีที่มีมาตรฐานรับรองงบการเงินเหล่านี้ แต่การที่บริษัทเหล่านี้ ซึ่งเข้าจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.
ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม แล้วก็ต้องดำเนินการเพื่อไม่แสวงหากำไร ก็คือไม่จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นเลย
เมื่อจุดประสงค์ขับเคลื่อนของตัวนิติบุคคลไม่แสวงหากำไร ก็ไม่จำเป็นต้องเอากำไรมาแบ่งปันกัน แต่จะเอา
กำไรที่ได้มาแก้ปัญหา มาสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี และพัฒนาสังคมในชุมชนนั้นๆ ให้ดีขึ้น
ธุรกิจที่จดทะเบียนเป็น SE แล้ว ยกตัวอย่างเช่น มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และ ดอยคำ ซึ่งถ้าใครสนใจก็อุดหนุนได้เลย
เพราะจะช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์แข็งแรง และมีภาพลักษณ์เพื่อสังคมอย่างสูง
“ดังนั้น จึงอยากเชิญชวนผู้ประกอบการที่อยู่ตามชุมชนต่างๆ ที่ประสงค์อยากทำธุรกิจในเชิงสังคม ที่จะช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาชุมชนเหล่านี้ หรือทำผลิตภัณฑ์เหล่านี้ออกมาในลักษณะที่ไม่แสวงหากำไร เพื่อเป็นปัจจัยพื้นฐานในธุรกิจต่อเนื่อง ให้คนทำงานธุรกิจของชุมชนนั้นต่อไป เช่น ท่องเที่ยวชุมชน
ซึ่งหลายคนที่มีความหวังดีก็สามารถตั้งเป็นบริษัท แล้วนำกำไรที่ได้มาพัฒนาชุมชน ดูแลสังคมต่อไป ทำให้ชุมชนนั้นเกิดความยั่งยืน มีการแบ่งปันกัน ชาวบ้านในชุมชนก็มีงานทำ มีรายได้ เกิดความมั่นคง ช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม และดูแลวัตถุดิบต่างๆ ของบริษัทที่อยู่ในชุมชน”
มงคล กล่าวว่า ก.ล.ต.อนุญาตให้เป็นตัวบริษัท หรือผู้ถือหุ้นของบริษัท ที่สามารถระดมทุนได้ด้วย เพราะฉะนั้น
ก็เลยได้ทั้งตัวคนที่เป็นแกนหลัก ตัวบริษัท และตัวผู้ถือหุ้นด้วย โดยตัวอย่างที่กำลังจะมีการประกาศเร็วๆ นี้ คือ
โรงไฟฟ้าชุมชน ถ้าท่านสามารถทำให้ชุมชนเหล่านั้นจัดตั้งขึ้นมารวมตัวกัน แล้วทำวัตถุดิบต่างๆ ที่มีคุณภาพ
ป้อนให้โรงไฟฟ้าต่างๆ แล้วแบ่งปันราคาที่รัฐบาลซื้อให้กับชุมชนผ่านทาง SE ก็จะเกิดความมั่นคง
SE เป็นองค์กรในการรวมตัวกัน รูปแบบคล้ายๆ สหกรณ์ แต่คล่องตัว เพราะดำเนินการในรูปของบริษัท หรือ
นิติบุคคล หรือบริษัทมหาชน ที่สามารถทำให้ชุมชนมีเครื่องไม้เครื่องมือมากขึ้น แทนที่จะมานั่งรองบประมาณ
ของทางราชการ ก็มาระดมทุนจากมหาชนในชุมชนนั้นๆ หรือคนที่อยู่นอกชุมชนมาช่วยกัน แล้วเงินทุนก็ไม่ได้
ใช้เยอะ ปกติจังหวัดหนึ่ง ส่วนตัวคิดว่าหลักร้อยล้านก็สามารถทำได้ และบางจังหวัดมีการจัดตั้งบริษัท
ลักษณะนี้เพื่อดำเนินการรถไฟฟ้าด้วย เช่น จ.ขอนแก่นทำสมาร์ตซิตี้ จ.ภูเก็ตก็รวมตัวกันเพื่อทำรถราง ต่อไป
ก็มาระดมทุนใน mai ได้
ก่อนหน้านี้ ถ้าใครที่กระจายขายหุ้นให้กับประชาชน ต้องขออนุญาต ก.ล.ต.ก่อน แต่วันนี้ ก.ล.ต.ได้ออก
กฎเกณฑ์ว่าใครที่ทำเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ไม่ต้องขออนุญาต ก.ล.ต. แต่ขอให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของ
พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยให้ไปขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม เมื่อจดได้แล้ว
ก.ล.ต.ประกาศแล้ว ก็สามารถระดมเงินทุนได้ เหมือนกับบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ได้เลย โดยที่ไม่ต้อง
เข้าตลาด mai
มงคลคิดว่า 10 ปีหลังจากนี้ไป การพัฒนาของพื้นที่ชุมชน ท้องถิ่นจะแข็งแรงขึ้น แล้วปัจจุบันมีอยู่ 70 จังหวัด
ที่มีการจัดตั้งบริษัท ประชารัฐ วิสาหกิจเพื่อสังคม ในรัฐบาลชุดก่อน เป็นการส่งเสริมระหว่างพลังประชารัฐ
คือ รัฐบาล ชุมชน หน่วยงานภาคเอกชน แล้วก็ธนาคารด้วย ทั้งธนาคารพาณิชย์และธนาคารรัฐที่เข้าไปช่วยกัน
ถือเป็นโอกาสใหม่สำหรับ SE ที่จะมีพลังเพิ่มขึ้น สามารถระดมทุนได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย
สมัยก่อนคนที่จะทำกิจการนี้ จะต้องไปขอกู้เงินที่เอสเอ็มอีแบงก์ หรือธนาคารออมสิน แต่การดำเนินการ
ในลักษณะนี้จะคล่องตัวมากขึ้น เพราะไม่จำเป็นต้องเป็นเงินกู้ และไม่มีขีดจำกัดในเรื่องของการเติบโต
สามารถดำเนินการตามแผนงานของตัวเองได้ @