ต่อลมหายใจ “เอสเอ็มอีท่องเที่ยว” “บสย.” ค้ำให้ ผ่านโครงการ “บสย.SMEs ไทย สู้ภัยโควิด 2”

 

สัมภาษณ์ : คุณวิเชษฐ วรกุล รองผู้จัดการทั่วไปอาวุโส สายงานบริหารช่องทางและพัฒนาผู้ประกอบการ บสย. โดย ดร.นงค์นาถ ห่านวิไล

ดร.นงค์นาถ : วันนี้เราจะคุยกันถึงเรื่องของ บสย. ที่บอกว่า บสย.ทำโครงการ SMEs ไทยสู้ภัยโควิด 2 มาคราวนี้มาช่วยธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งกำลังประสบปัญหาเรียกว่าวิกฤติอย่างหนักเลยทีเดียว แต่ว่าก่อนที่จะไปถึงประเด็นนั้น ก็อยากให้ทางคุณวิเชษฐช่วยปูพื้นสักนิดถึงบทบาทหน้าที่ของ บสย.

คุณวิเชษฐ :  บสย.เป็นสถาบันการเงินของรัฐ อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลัง เปิดมาประมาณ 30 ปี ปีนี้เป็นปีที่ 30 เราทำหน้าที่ในการค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการหรือลูกค้า ความหมายคือ เวลาลูกค้าไปขอเงินกู้จากธนาคาร ผู้ค้าไม่มีหลักประกันหรือหลักประกันไม่เพียงพอ บสย. ก็จะเป็นผู้ค้ำประกัน ลูกค้าก็จะได้เงินสินเชื่อจากธนาคาร อันนี้เป็นบริการที่เราทำโดยหลักๆ บสย. ไม่ใช่ธนาคาร เราไม่ได้รับเงินกู้เราไม่ได้ปล่อยสินเชื่อ แต่ผมเป็นผู้ค้ำประกัน  และตอนนี้เวลาเราพูดคำว่า SME ในความหมายของ บสย. เป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลด้วย เพราะฉะนั้นไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ประกอบการรายย่อย อาชีพอิสระ พ่อค้าแม่ค้า ร้านค้าแผงลอยจนไปถึงโรงงานอุตสาหกรรม ร้านนวด ฯลฯ

ดร.นงค์นาถ : ตอนนี้ภาพรวม SME เป็นอย่างไรบ้าง ตามข้อมูลที่ บสย. มีอยู่

คุณวิเชษฐ : วันนี้มันเป็นธีมท่องเที่ยว ผมเล่าเรื่องท่องเที่ยวนิดนึง โดยภาพรวมตั้งแต่เกิดโควิด ทางอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก ปีที่แล้วปี 62 ทั้งปีเรามีนักท่องเที่ยวลดลงจาก 40 ล้านคนเมื่อปีก่อนๆ  พอถึงปี 63 เหลืออยู่ประมาณ 6 ล้านกว่าคนแค่นั้นเอง ในแง่ของเม็ดเงินรายได้ก็ลดลงจาก 3 ล้านล้านบาท เหลือประมาณแสน ก็ค่อนข้างเยอะ กระทบค่อนข้างหนัก

แต่ว่ายังโชคดีนะที่ปีที่แล้วท่ามกลางภาวะโควิด รัฐบาลก็ออกโครงการช่วยเหลือท่องเที่ยวหลายเรื่อง ไทยเที่ยวด้วยกัน คนละครึ่งอะไรทั้งหลาย จริงๆ ตัวเลขตอนประมาณสักปลายๆ ปีที่แล้ว อย่างน้อยมีนักท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น เราจับตัวเลขอยู่เพิ่มขึ้นอยู่ประมาณสัก 20% ก็พอบรรเทา มันโชคร้ายที่มาเจอโควิดรอบที่ 2 ตอนปลายปีติดต่อต้นปี อันนี้ก็เป็นที่มาเรื่องโครงการสู้ภัยโควิดภาค 2

ปีที่แล้วในกลุ่มท่องเที่ยวเอง บสย.เราช่วยพยายามเติมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ เราปล่อยเราอนุมัติการค้ำประกันไปได้ประมาณ 8 พันล้านบาท ซึ่ง cover ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านอาหาร ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็น ทัวร์ ธุรกิจขายตั๋ว ก็จะเป็นการเติมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ซึ่งประสบภาวะเรื่องรายได้ลดลงอย่างค่อนข้างมาก ให้สามารถที่จะ continue ต่อเนื่องได้ อันนี้ก็จะเป็นภาพรวมของธุรกิจท่องเที่ยว

ดร.นงค์นาถ : SME ใน อุตสาหกรรมท่องเที่ยวก็มีเยอะมากเลยใช่ไหม

คุณวิเชษฐ : มีเยอะมาก มีตั้งแต่ร้านอาหารร้านบริการอย่างที่ผมเรียน คือท่องเที่ยวมันเป็น sector ที่ค่อนข้างใหญ่พอ contribute  GDP ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นจำนวนผู้ประกอบการที่อยู่ในแวดวงท่องเที่ยวต้องเรียกว่ามีจำนวนหลักแสน

ดร.นงค์นาถ : เพราะฉะนั้นก็เลยเป็น sector ที่สำคัญเพราะว่า contribute GDP ค่อนข้างเยอะด้วย ที่นี้กลุ่มท่องเที่ยวกลุ่มไหนที่จะสามารถเข้ามาขอความช่วยเหลือจากโครงการของ บสย.ได้ ที่บอกว่าตอนนี้มีโครงการ บสย. SME ไทยสู้ภัยโควิด 2

คุณวิเชษฐ : ผมเล่าเรื่องโครงการ บสย.แล้วเดี๋ยวก็จะบอกต่อว่า เราช่วยท่องเที่ยวกลุ่มไหนได้บ้าง สำหรับโครงการ บสย.ไทยสู้ภัยโควิด 2 มูลค่าโครงการ 1หมื่นล้านบาท บสย. จัดทำเป็นโครงการไทยสู้ภัยโควิดรุ่นที่ 2 มูลค่าวงเงินทั้งหมด 1 หมื่นล้านบาท และเราก็ขยายตัววงเงินการค้ำประกันให้สูงขึ้นไปอีกเพื่อให้ cover เรื่องธุรกิจโรงแรมไปได้ด้วย ก็จาก 2 แสน ให้โตขึ้นไปได้ถึงขั้น 100 ล้านทีเดียว พอแบบนี้จะ cover ครอบคลุมไปถึงผู้ประกอบการที่เป็นโรงแรมขนาดเล็กหรือขนาดกลางได้ด้วย ที่สำคัญที่สุดก็คือระยะการค้ำประกัน 10 ปี ค่าธรรมเนียมปีละ 1.5 บสย.ไม่เก็บ 2 ปี ฟรีลูกค้าไม่ต้องจ่าย ฟรี 2 ปี เงื่อนไขอีกอันนึงภายใต้ความไม่มั่นใจของธนาคารที่ไม่กล้าปล่อยสินเชื่อ เพราะความเสี่ยง  เราก็เพิ่มอัตราการรับความเสี่ยงสูงขึ้นไปอีกเพื่อให้ธนาคารกล้าที่จะปล่อยกู้มากขึ้น เราเพิ่มจากปกติ 25% เพิ่มเป็น 35% ต่อโครงการทั้งหมด เพื่อให้แบงค์มั่นใจที่จะปล่อยกู้

ดร.นงค์นาถ : กลุ่มไหนบ้าง ที่สามารถเข้าร่วมโครงการนี้

คุณวิเชษฐ : กลุ่มท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมันก็จะครอบคลุมเยอะมากเลยที่เราเขียนเงื่อนไขไว้ ครอบคลุมถึงกิจการถึง 46 ประเภท โรงแรม รีสอร์ท เกสต์เฮ้าส์ ที่พักระยะสั้น ธุรกิจขนส่ง เอเย่นต์ ทัวร์ ร้านอาหาร ภัตตาคาร จิปาถะครบหมดอะไรก็ตามที่เกี่ยวเนื่องกับท่องเที่ยว เราค้ำได้หมด

ดร.นงค์นาถ : ไม่มีใครตกหล่น ไม่มีทิ้งใครไว้ข้างหลัง

คุณวิเชษฐ : ไม่ทิ้งใคร เพราะมีความตั้งใจว่าสำหรับลูกค้าในกลุ่มนี้เอง ภาวะขนาดนี้อาจจะมีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียน ในการที่จะต่อลมหายใจ โอเคในช่วงภาวะต้นปีอาจจะยังชะงักงานจากช่วงโควิดภาค 2 แต่ ณ วันนี้ จากที่เราประมาณการเองเราคุยกับ ททท. ท่องเที่ยวประเทศไทยปีนี้เขาคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาอย่างน้อยซัก 7-8 ล้านคน ถามว่าทำไมเขาพูดแบบนี้ อย่างนี้เราเข้าใจและเห็นอยู่ว่า วัคซีนเริ่มฉีดแล้วต่างประเทศฉีดเยอะแล้ว ก็ในเรื่องของโอกาสที่จะมีการติดเชื้อก็คิดว่ามันน่าจะลดน้อยลง

เราก็มีความหวังว่าในช่วงครึ่งปีหลังก็เริ่มจะต้อนรับนักท่องเที่ยวได้ พร้อมทั้งนั้นนักท่องเที่ยวในประเทศเองเนื่องจากเรามีโครงการเที่ยวด้วยกันคนละครึ่ง voucher 5 ล้านใบหมดเลยนะ มีคนขอไปแล้วตอนนี้ ก็ยังทยอยกันมาเที่ยวตัวเลขก็คิดว่าไม่ได้ลดลง เพราะฉะนั้นเงินทุนหมุนเวียนในช่วง 2-3 เดือนนี้หรืออีกสักครึ่งปีนั้นมีประโยชน์ต่อลมหายใจ พร้อมปุ๊บนักท่องเที่ยวมาก็ยัง continue ทำธุรกิจได้ อันนี้เป็นวิธีคิด

ดร.นงค์นาถ : ตั้งแต่เปิดโครงการมาถึงขณะนี้ มี feedback เป็นอย่างไรบ้าง

คุณวิเชษฐ : เราก็คุยกับธนาคารจริงๆ เรามีธนาคารเป็น MOU 18 แห่งแต่ว่าจากที่เราทำ survey กับธนาคารก็มีธนาคารขนาดใหญ่ประมาณ 6-7 แห่งสนใจ ตอนนี้กำลังดำเนินการอยู่  ธนาคารเองจะมีความมั่นใจมากขึ้น  สำหรับผู้ประกอบการ ก็เริ่มติดต่อธนาคารได้แล้วในตอนนี้

ดร.นงค์นาถ : ธนาคารที่ส่วนใหญ่เป็นความร่วมมือกับทาง บสย.เป็นอย่างดีอยู่แล้วก็ส่วนใหญ่จะเป็นธนาคารขนาดใหญ่รวมถึงธนาคารของรัฐ?

คุณวิเชษฐ : ออมสิน SME D Bank  กรุงไทย  ธนาคารของรัฐทุกแห่งร่วมมือเต็มที่

ดร.นงค์นาถ : จริงๆ แบงค์เขาก็อยากจะปล่อยกู้เพราะว่าเขาก็ได้ประโยชน์เหมือนกัน ทีนี้รายละเอียดข้อมูลเหล่านี้ ใน detail มากๆสามารถไปดูข้อมูลที่ในส่วนของศูนย์ปรึกษาการเงิน SME บสย.F.A. Center อันนี้ได้ใช่ไห ม หรือดูข้อมูลเพิ่มได้ที่ไหนบ้าง

คุณวิเชษฐ : ผมมีช่องทางให้ทางลูกค้าติดต่อ 2 ช่องทาง ช่องที่ 1 คือในเว็บไซต์ของ บสย. ท่านอาจจะเปิดเข้าไปดูก่อนได้ทันที ช่องทางที่ 2 ถ้าอยากที่จะได้พูดคุยด้วยเผื่อถามรายละเอียดเรามี call center 02-8909999 call center เราก็จะมีเจ้าหน้าที่แนะนำให้บริการกับลูกค้า call center เองเขาก็อาจจะสอบถามถ้านิดหน่อยต้องการกู้เงินเท่าไหร่ ผมมีเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการแบบนี้อยู่สามารถให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ประกอบการได้ด้วยในการที่จะไปยื่นกู้ เตรียมตัวอย่างไรในภาวะขนาดนี้ เป็นต้น พร้อมทั้งแนะนำแบงค์ได้ด้วย เพราะเราเจอแบงค์เยอะรู้จักแบงค์ว่าแบงค์ไหนชอบลูกค้าประเภทไหน เป็นต้น

ทีนี้ในศูนย์ F.A. Center เราก็เป็นศูนย์ที่ปรึกษาทางด้านการเงินซึ่งอันนี้เป็นช่องทางที่ 3 ตั้งอยู่ที่ชั้นล่างของธนาคาร SME D Bank ในศูนย์ให้บริการอยู่ 3 แบบ อันดับที่ 1 เราเตรียมตัวให้ลูกค้าไปกู้เงินจากธนาคารแนะนำช่วยผู้ประกอบการในการที่จะขอวงเงินกู้สินเชื่อจากธนาคาร อันดับที่ 2 เราแนะนำด้วยเรื่องของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ บางทีบางท่านจะต้องแต่งต้องปรับนิดหน่อยเพื่อให้ cash flow กับที่จะต้องจ่าย matching กันรวมทั้งธุรกิจที่เราจะเกิดในอนาคตอันนี้เขาก็ให้คำบริการด้วย ส่วนเรื่องที่ 3 เป็นเรื่องของการ training ปรับธุรกิจ เพราะฉะนั้นศูนย์ที่ปรึกษาการเงินปัจจุบันเราเรียกว่า บสย. F.A. Center ก็เป็นเพื่อนกับผู้ประกอบการ SME ไม่ได้คิดเงินด้วย ฟรี

ดร.นงค์นาถ : บสย.ตั้งมา 30 ปีแล้ว ค้ำประกันให้กับ SME ไปจำนวนมากน้อยแค่ไหน

คุณวิเชษฐ : ปีนี้เป็นปีที่ 30 จริงๆ ปีนี้เรา hit records คือ สะสมวงเงินค้ำประกันถึง 1 ล้านล้านบาทแล้ว ปีที่แล้วก็เป็นปีที่เราต้องทำงานหนักเพื่อช่วยเหลือลูกค้า เราอนุมัติวงเงินค้ำประกันไปทั้งหมด หนึ่งแสนสี่หมื่นล้าน มากที่สุดตั้งแต่ตั้ง บสย.มา แล้วเราก็พยายามทำโครงการให้แก้ปัญหากับผู้ประกอบการได้จริง  และ ขออนุญาตเรียนทางผู้ประกอบการอย่างนี้ สำหรับในภาวะขนาดนี้เข้าใจว่าลูกค้ามีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียน เงินกู้จากสถาบันการเงิน แล้วก็หลักประกันถือเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเกิดท่านมีความต้องการกู้เงินจากธนาคาร แล้วก็หลักประกันไม่พอหรือไม่มีหลักประกัน บอกธนาคารบอกว่าผมอยากให้ บสย.เป็นผู้ค้ำประกัน

ธนาคารทุกแห่งรู้จัก บสย.อยู่แล้ว ก็จะสามารถที่จะมี บสย.เป็นหลักประกันได้ ถ้าไม่เข้าใจกรุณาโทรมาที่ 02-890-9999 เรามีเจ้าหน้าที่ให้ข้อมูล ส่วนโครงการไทยสู้ภัยโควิด 2 เราเริ่มเปิดให้ดำเนินการรับคำขอแล้ว ณ วันนี้ถ้ามีความต้องการ สามารถโทรมาที่เบอร์ call center 02-890-9999


 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *