“ความขัดแย้ง” คือ สิ่งที่ไม่ตรงกับความคิดความคาดหวังในการทำงานหรือองค์กร นำมาสู่ผลกระทบคือความรู้สึกเดือดร้อนหรือเสียหายต่อคนและองค์กร ซึ่งในโลกแห่งการทำงานความขัดแย้งมักมีใน 3 พื้นที่นี้ คือ
1. ขัดแย้งสับสนในเป้าหมาย
2. ขัดแย้งสับสนในบทบาท = อำนาจ บารมี ศักยภาพ
3. ขัดแย้งสับสนในเครื่องมือ/กระบวนการ /วิธีการ
เมื่อเผชิญกับความขัดแย้งแล้วเรามักจะมองมาที่คนที่ทำให้เกิดความรู้สึก ”ขัดแย้งนั้น” ว่าเป็น “ดาวร้าย” จริงๆ “ดาวร้าย” ก็ไม่ต่างจาก “ดาวเด่น”
คนเรามักจะมีภาพจำในส่วนที่ร้ายได้ดีชัดเจนกว่า ยกตัวอย่างของละครในอดีต เพราะมีผลกระทบทางอารมณ์และจิตใจจึงจดจำได้ดีนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เมื่อเราต้องทำงานกับ ดาวร้าย ให้พิจารณาจาก 7 ข้อ (key.principle) ดังนี้
1. ทุกพฤติกรรมที่แสดงออกของมนุษย์ ล้วนมีความหมายเสมอไม่ว่าจะดีร้ายอย่างไรก็ตาม
2. ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์ทุกคนไม่ได้อยากเป็นผู้ร้ายในสายตาคนอื่นตลอดเวลา
3. พฤติกรรมร้ายๆ ที่แสดงออกมานั้นคือปรากฎการณ์ที่เจ้าตัวเองก็อาจทั้ง รู้ตัว หรือไม่รู้ตัว มีทั้งตั้งใจและพลั้งเผลอ
4. การแสดงออกร้ายๆ นั้นสะท้อนขีดความสามารถในการจัดการกับปัญหาของเขา หากเขาจัดการได้จริงจะไม่วนซ้ำในพฤติกรรมร้ายๆ แบบเดิมๆ
5. ความร้าย จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับผลกระทบที่ได้รับ(เดือดร้อนและเสียหาย) ตลอดจนความรู้สึกผิดหวัง จากความคาดหวังของตนเอง
6. ประสบการณ์ในอดีตของตนมีผลต่อการตอบสนองต่อดาวร้ายและเหตุการณ์ร้ายๆ ยกตัวอย่างเช่น ในสมัยเรียนโดนตำหนิกหน้าเสาธงต่อสาธารณะเมื่อโตขึ้นโดนหังหน้าตำหนิต่อสาธารณะด้วยยิ่งกระตุ้นเร้าให้เกิดผลกระทบร้ายๆ แบบถล่มถลายได้เร็วขึ้น
7. ไม่มีใครในโลกใบนี้ไม่เคยร้ายมาก่อน ทุกคนมีมุมร้ายที่แตกต่างกันไป
การกลับมาทบทวนวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบจากความร้ายของคนและเหตุการณ์จะช่วย แปลงดาวร้าย ให้เป็นดาวเด่นได้ด้วยเช่นกัน ได้แก่ มองหาศักยภาพ หาผลประโยชน์จากความร้ายในตัวเขา เช่น พฤติกรรมการเป็นนักตำหนิ ช่างติ ชอบวิพากษ์วิจารณ์ ให้นำความสามารถนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อยอด เช่น ในงานในส่วน QA QC งานมาตรฐานการปฏิบัติงาน ตอบโจทย์ จัดสรรประโยชน์ และดึงศักยภาพออกมา เป็นต้น
การแปลงดาวร้าย ให้เป็นดาวเด่น
1. ถอยหลังจากพฤติกรรมร้ายๆ ของเขามองว่าเป็นเพียงแค่พฤติกรรมปรากฏการณ์
2. มองหาจุดที่มีเขามีความสามารถมีความถนัดมาเป็นตัวเชื่อมโยงในการปรับเปลี่ยน
3. เกิดความเข้าใจถึงสิ่งที่แสดงออกที่มีต่อตัวเอง ของบุคคลนั้น และงานจะเริ่มปรับดุลยภาพจนออกมามีประสิทธิภาพได้ในที่สุด
ข้อคิดปิดท้าย
การอยู่ร่วมกับ Covid โดยปกติคนทั่วไปมักจะปรับตัวได้ภายใน 3-6 เดือน หรืออาจมากกว่านั้นถือเป็นพลวัตรของความพยายามปรับตัวของมนุษย์ ดังนั้น การอยู่ร่วมกับภาวะวิกฤติจึงควรมองหาความสุขจากข้อจำกัดต่างๆ และโฟกัสเรื่องต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเราที่เราทำได้ทันทีก่อนพร้อมให้โอกาสกับตัวเองผ่านการ “ดีใจ” ไปกับทุกสิ่งๆ ที่ง่ายๆ และอยู่รอบตัว เรียกง่ายๆ คือ “หาเรื่องดีใจในทุกๆ วัน” เช่น ดีใจที่ได้ตื่น ดีใจที่มีงานทำ ดีใจที่ได้ทานอาหารอร่อยๆ ดีใจที่ยังมีโอกาสได้ก้าวเดินต่อไปในชีวิต เมื่อทำได้แล้วจะรู้สึกว่าได้ใจดีกับตัวเองและใจดีกับผู้อื่น ชีวิตจะมีความสุขได้ง่ายและงดงามขึ้น
สรุปและเรียบเรียง จากรายการลับคมธุรกิจ มิติข่าว 90.5 FM
โดย ประเสริฐ กวินนิพัทธ์ (อ.หนึ่ง) SCG HR Solution ผู้ทรงคุณวุฒิ สาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อดีตกรรมการสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย