คอลัมน์: สื่อสารการตลาดตามใจฉัน
โดย…บราลี อินทรรัตน์
อีคอมเมิร์ซไทยพุ่งทะยานขึ้นเป็น No.2
สืบเนื่องจากการเติบโตแบบก้าวกระโดดของเศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ส่งผลให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยมีมูลค่าสูงถึง 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564 โดยมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 51% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แถมไทยยังคงเป็นตลาดที่มีเศรษฐกิจดิจิทัลใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากสิงคโปร์ (ข้อมูลจากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำปี 2021 โดย Google, Temasek และ Bain & Company)
ทั้งนี้ผู้จัดทำรายงานคาดว่าในปี 2568 มูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยจะแตะที่ 5.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 17% ซึ่งสูงขึ้นจากที่เคยคาดการณ์ไว้ถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยก่อนหน้านี้ได้ประมาณการไว้ที่ 5.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
จะเห็นว่า จากภาพอีคอมเมิร์ซบ้านเราโตสุดๆ ขึ้นไปถึง 68% เมื่อเทียบจากปีก่อนๆ ซึ่งไม่น่าแปลกใจ เพราะผลพวงจากพิษโควิด 19 ทำให้คนที่ต้องอยู่บ้านเฉยๆ จากการที่ที่ทำงานต้องหยุด พนักงานอยู่บ้านกันเป็นส่วนใหญ่ตั้งแต่ปี 2563 ยาวมาจนถึงปี 2564 ที่หลายบริษัทก็ปรับนโยบายให้พนักงานทำงานที่บ้าน Work From Home ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ที่มีอยู่อาชีพเดียว หันมาค้าขายออนไลน์เพิ่มอีกหนึ่งหรือสองอาชีพ เพื่อสร้างรายได้อีกช่องทางนอกเหนือจากงานประจำ
หรือบริษัท ห้างร้านที่ต้องหยุดงานไปเลยหากมีธุรกิจที่จัดว่ามีความเสี่ยงสูงเช่นธุรกิจกลางคืน ร้านอาหาร บาร์ หรือประเภทอื่นๆ ที่เจอผลกระทบอย่างยาวนาน พนักงานก็ต้องดิ้นรนหาทางรอด ด้วยการทำอาหาร ทำขนม ขายเสื้อผ้า ของกิน ของใช้ และแน่นอนผ่านช่องทางออนไลน์ 100% ทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของไทยเราพุ่งทะยานแบบหยุดไม่อยู่ทีเดียว
จากการใช้งานออนไลน์ ช้อปกระจาย ทำให้ประเทศไทยมีผู้บริโภคบนแพลตฟอร์มดิจิทัลรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 9 ล้านคนนับตั้งแต่การเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดในปี 2563 (ถึงครึ่งแรกของปี 2564) โดยกว่า 67% ของผู้ใช้รายใหม่อาศัยอยู่นอกหัวเมืองหลัก
สื่อออนไลน์และเกมเมอร์หน้าใหม่ ก็พุ่งไปถึง 29% ที่มียอดซื้อขายเกมใหม่ๆ และมีวัยรุ่นที่ชื่นชอบในการเป็นเกมเมอร์ก็เข้ามากันมากขึ้น ส่วนด้านธุรกิจการจัดส่งอาหารออนไลน์ นี่ก็โตแบบไม่ยั้งขึ้นไปถึง 37% ทีเดียวนี่ยังไม่นับช่วงที่ไลน์แมน จับมือกับแอพเป๋าตังค์ ใช้คนละครึ่งรับสิทธิ์พิเศษ ยอดจะพุ่งกระฉูดไปอีกขนาดไหน ปลื้มใจที่คนไทยเป็นคนกินเก่ง F เก่ง ช้อปสินค้าออนไลน์แบบบันเทิงมากค่ะ
ส่วนที่ยังต้องรอให้เวลากันอีกนิดนึง ก็คือภาคการท่องเที่ยวแบบออนไลน์ ที่เราเพิ่งเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวเข้ามา และคนไทยเดินทางท่องเที่ยวกันเอง คงต้องรอดูตัวเลขกันอีกสักระยะนึง
ถ้ามาดูอัตราการใช้บริการดิจิทัลของประเทศไทยสูงถึง 90% (สูงเป็นอันดับสองในภูมิภาค รองจากสิงคโปร์) โดยมีการใช้บริการดิจิทัลหลากหลายประเภท เช่นการซื้อสินค้าออนไลน์ การใช้บริการส่งอาหารออนไลน์ ผู้ใช้งานเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะใช้งานต่อไปในอนาคต โดยกว่า 96% ของผู้ใช้งานในช่วงการแพร่ระบาดยังคงใช้งานอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้ และ 98% คาดว่าจะใช้งานต่อไปในอนาคต
เพื่อรองรับการเติบโต อีคอมเมิรซ์ไทย 3 สิ่งที่ผู้ประกอบการไทย ที่ค้าขายอยู่บนโลกออนไลน์ ควรทำมีดังนี้
1.ทำให้ทุกการช้อปของลูกค้านั้นเป็นเรื่องง่าย จบในขั้นตอนเดียวสะดวกสบายแค่ปลายนิ้ว
อันนี้เป็นเรื่องที่เจ้าของแบรนด์ หรือผู้ประกอบการต้องเอาใจใส่ทุกขั้นตอน เมื่อลูกค้าเข้ามาที่ช่องทางโซเชี่ยลของร้านแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มไหนก็ตาม หากทำให้ลูกค้าเลือกดูข้อมูลสินค้า ได้ตามต้องการแล้ว ตัดสินใจซื้อ เลือกช้อป มีช่องทางการจ่ายเงินให้เลือก การจัดส่งถึงบ้าน ทำทุกอย่างให้จบได้ในแพลตฟอร์มเดียว ไม่ต้องให้ลูกค้าเข้าออกแพลตฟอร์มต่างๆ หรือแค่เข้ามาดูโซเชี่ยลมีเดียของร้าน และออกไปซื้อที่อื่น ถ้าทำได้จัดว่าให้ความสะดวกและการใช้งานการซื้อของนั้นง่ายดายไม่ยุ่งยากซับซ้อน ลูกค้าก็มีโอกาสกลับมาช้อปใหม่ในครั้งหน้า
2.สร้างความผูกพันระหว่างลูกค้าและแบรนด์ของคุณ
เมื่อเป็นลูกค้ากันแล้ว ทางผู้ประกอบการควรมีกิจกรรมที่ดึงดูด หรือให้สิทธิพิเศษก่อนใคร ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชั่น ช้อปก่อนใคร หรือได้รับรางวัล ของขวัญที่มีคุณค่า CRM เพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้าเราไม่เปลี่ยนใจไปใช้บริการของแบรนด์อื่นๆ ซึ่งเจ้าของแบรนด์สามารถเลือกใช้ ฟีเจอร์ต่างๆ จากแพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ ที่มีบริการนี้ให้ใช้ หากเจ้าของแบรนด์ละเลยหรือมัวแต่หาลูกค้าใหม่ๆ ก็ย่อมเสียโอกาสในการเก็บลูกค้าเก่า ให้เป็นลูกค้าประจำตลอดไป
3.รับฟังความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง
การทำโพล หรือแบบสอบถามเพื่อวัดความพึงพอใจของลูกค้าในบริการของสินค้า หรือบริการจากทางแบรนด์ นับว่าเป็นเรื่องสำคัญ ที่เจ้าของแบรนด์จะได้รับฟังความคิดเห็น ข้อแนะนำต่างๆ ที่ลูกค้าอยากให้แบรนด์นำมาปฏิบัติ หรือเอามาปรับปรุง รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความพึงพอใจให้กับลูกค้าประจำ รวมถึงลูกค้าที่เข้ามาใหม่อีกด้วย
ทั้ง 3 ข้อนี้ หากผู้ประกอบการทำอยู่แล้ว และเพิ่มเติมในบางแอเรียให้ดียิ่งๆ ขึ้น ก็จะช่วยสร้างยอดขายให้เติบโตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะการตลาดดิจิทัลก็ยังอยู่คู่กับคนไทยไปอีกนานอย่างแน่นวลลล
เกี่ยวกับผู้เขียน: บราลี อินทรรัตน์ (ลี)
*มีประสบการณ์การเป็นผู้บริหาร บริษัทที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์และสื่อสารการตลาด การสร้างภาพลักษณ์องค์กร ดูแลวางแผนกลยุทธ์ให้ลูกค้าทุกประเภทธุรกิจ ทั้งภาครัฐและเอกชนมากกว่า 35 ปี
*ปัจจุบัน เป็นที่ปรึกษางานสื่อสารการตลาด ประชาสัมพันธ์ และการตลาดออนไลน์ให้กับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรและSME
*เป็นเจ้าของธุรกิจ จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่อต้านความเสื่อมชราระดับยีนทั้งอาหารเสริมและอุปกรณ์ความงาม
*มีคลาสแนะนำ “การทำธุรกิจโกลบอลออนไลน์บนแพลตฟอรม์ที่ขยายไปยังต่างประเทศ” ฟังฟรี!! ให้กับ SME ที่สนใจธุรกิจออนไลน์ที่ทำตลาดต่างประเทศได้ ผ่าน ZOOM ตามวันและเวลาที่นัดหมาย
*มีคลาส สอน Line Official Account (Line OA) ทั้งหลักสูตรพื้นฐาน และAdvance ให้ SME เรียนผ่านเฟซบุ๊คส์กลุ่มปิด และไพรเวทคลาส 1 วันเต็ม
ติดต่อสอบถามแอดไลน์ที่นี่ค่ะ>>> https://lin.ee/6lNppJi หรือ โทร.0841465665