คอลัมน์: สื่อสารการตลาดตามใจฉัน
โดย…บราลี อินทรรัตน์
เป็นที่ฮือฮาไปทั่วเมื่อพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ใช้การทำประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผู้สมัครลงเลือกตั้ง นโยบายของพรรค และกิจกรรมต่างๆของพรรคผ่านช่องทางโซเชี่ยลมีเดีย ที่มีผู้โหลดแอพนี้สูงสุดในไทย นอกเหนือจากการใช้รถแห่ ติดป้ายหาเสียงไปตามถนนหนทาง ทำให้การใช้ช่องทางโซเเชี่ยลมีเดียเป็นหนึ่งในการขยายฐานแฟนคลับจากกลุ่มเดิมๆที่มีอยู่แล้ว เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนใจเรื่องเศรษฐกิจการเมืองเข้ามาเพิ่มขึ้น ถึงแม้เลือกตั้งจะผ่านไปแล้ว บัญชีทางโซเชียลนี้ไม่มีแผ่วเลย เป็นช่องทางการสื่อสารกับผู้คนจำนวนมากในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับกิจกรรมของพรรค และทีมงานในพรรค
ไม่เพียงแต่พรรคการเมืองเท่านั้น ที่ขยายฐานหาคนใหม่ๆ มาสนับสนุน ในวงการละคร ภาพยนตร์ไทย ก็นิยมที่จะจัดกิจกรรมเฉพาะ แฟนมีตติ้ง พาไปทำกิจกรรม ทานข้าว เล่นเกมส์ ถ่ายรูปกับดารา รับของขวัญพิเศษ เปิดรับคนร่วมกิจกรรมทีไรก็เต็มทุกที รวมไปถึงการมาแสดงคอนเสริตของศิลปินดังๆระดับโลก ที่มาจัดแสดงในไทยก็ต้องงอกกิจกรรมนี้ขึ้นมาให้ เฉพาะกลุ่มแฟนคลับของตนเท่านั้น
แล้วการตลาดแฟนคลับ ต่างจากการทำการตลาดแบบรักษาฐานลูกค้าเดิมยังไง? (CRM) Customer Royalty Management หรือ Customer Retaintion Management จะว่าไปก็ไม่ได้ต่างกันเท่าไหร่ แต่การตลาดแบบแฟนคลับจะพุ่งเป้าไปที่ ต้องทำอย่างไรแฟนคลับถึงจะมาติดตามแบรนด์เพิ่ม ผู้บริหารเพิ่มจากที่เป็นอยู่ ในองค์กรมีใครเป็นแม่เหล็กดึงดูดได้บ้าง?
CRM ก็เป็นการทำการตลาดที่ให้ความสำคัญกับฐานลูกค้าที่มีอยู่ มีการเก็บข้อมูลของลูกค้า ประวัติการซื้อ ชอบอะไรหรือไม่ชอบอะไร เหตุผลที่ตัดสินใจซื้อ บางองค์กรเก็บข้อมูลเหล่านี้ไป เพื่อวางแผนการตลาด การโฆษณา โปรโมชั่นเฉพาะกลุ่ม โดยให้สิทธิพิเศษในการซื้อก่อน ช้อปก่อนใครได้ดีลพิเศษ ในขณะที่บางองค์กร บางธุรกิจไม่ได้เก็บข้อมูลลูกค้าเลย ใครมาซื้อก็ขายให้ จ่ายเงินรับของก็จบไป
แล้วสิ่งที่การทำการตลาดแบบแฟนคลับ จะช่วยเพิ่มยอดขายได้ยังไง? อันนี้ตอบได้เลยว่ายอดพุ่งไปหลาย% เพราะใครๆ ก็อยากเป็นคนพิเศษ คนชอบแสดงออกว่าเค้ารัก เทอดทูนแบรนด์นั้น แบรนด์นี้ เพราะนั่นเพราะนี่ หรือบางทีไม่ได้มีเหตุผลใดๆ แต่เค้ารู้สึกว่าเค้าได้ความเป็น Exclusive ไม่เหมือนใครก็โอเคแล้ว ตัวสินค้า ผลิตภัณฑ์ก็ต้องใช้ดีด้วยเช่นกัน หากแบรนด์ให้ความสำคัญกับกลุ่มแฟนคลับ กลุ่มด้อม กลุ่ม FC ออกสินค้าอะไรมา พรึบเดียวหมด!!
ลองมาดูตัวอย่าง อิทธิฤทธิ์ของแฟนคลับ ที่มีต่อแบรนด์ โดยไม่เอาเรื่องการเมืองใดๆ มาเกี่ยว เกี่ยวกับการทำการตลาดที่เจาะฐานแฟนล้วนๆ
1.พรรคสีส้ม เป็นพรรคที่มีบัญชีในแอพTT ที่แค่เปิด account ขึ้นมาไม่กี่วัน ยอดติดตามพุ่งทะลุหลักล้าน ในขณะที่ช่องผู้เขียน เป็นช่องให้ความรู้สุขภาพ มีคนตามหลักร้อย แล้วเปิดช่องมาเป็นปีแล้วด้วย 555 เห็นมั้ย?
ปัจจุบัน ที่ทำการพรรค มีด้อมไปอุดหนุน กาแฟ เครื่องดื่ม ในช่วงกลางวันกันล้นหลาม ส่วนตอนค่ำเป็นร้านขายสุรา ที่ผลิตโดยแบรนด์ไทยๆ วัตถุดิบจากข้าว จากพืชเกษตรของไทย บางคนไปสั่งเครื่องดื่มเพื่อหวังจะถ่ายภาพคู่กับท่านว่าที่นายกก็ไม่น้อยเลยทีเดียว จัดอันดับเป็นร้านกาแฟติดเทรนด์ขณะนี้ไปเรียบร้อย
มีร้านทองในจ.อยุธยา ออกแบบสร้อยคอทองคำสัญญลักษณ์ โลโก้พรรค ก็มี FC ชาวด้อมทั้งในกทม. และตจว.ก็พุ่งตรงไปสอยสร้อยคอทองคำมาเก็บไว้ครอบครอง อันนี้ร้านไหนไว มีไอเดียเกาะไปกับกระแส ก็ทำรายได้ไปก่อน ไม่รอแล้ว
2.สาวน้อยทั้ง 4 Black Pink ที่มาเปิดคอนเสริต์ในไทยเมื่อ 27-28 พ.ค.ที่ผ่านมา
อิทธิพลของชาว blink ไทยก็ไม่น้อยหน้า แฟนคลับชาตืใดในโลก คอนเสริต์ลิซ่า ก็ทำเอาสนามราชมังคลาแทบแตก แฟนๆแห่ไปดูคอนเสริต์ทั้ง 2 วัน ทะลุเฉียดแสนทั้งสองวัน ทั้งๆ ราคาบัตรเริ่มต้นที่ 2,800 ยาวไปถึงบัตร VIP หลัก 14,800 ก็ขายหมดเกลี้ยง จนมีคนขายบัตรหน้างานราคาพุ่งไปถึง 20,000 ก็ยังมีคนซื้อ ไม่น่าเชื่อจริงๆ
นอกจากบรรดาด้อมจะสนับสนุน คนโปรดของพวกเค้าแล้ว สิ่งที่ได้อานิสงค์มาด้วย ก็คือบรรดา สิ่งของเครื่องใช้ ที่นักร้องคนโปรดใช้ นักการเมืองใช้ อย่าง นาฬิกา กระเป๋า แว่นตา แหวน เสื้อผ้า คือถ้าซื้อใช้ตามคนโปรดในดวงใจได้ ก็ซื้อตามแบบไม่หยั่นราคา
อันนี้คือแชร์ตัวอย่างให้เห็นจะๆ ว่าอิทธิพลของแฟนคลับ หรือเหล่าด้อมทั้งหลายนี่ พร้อมจ่ายไม่อั้น พร้อมสนับสนุน อารมณ์เหมือนแม่ยกที่ให้การหนุนพระเอก นางเอกลิเก ไม่ต่างกัน
ทีนี้ก็อยู่ที่ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ ว่าจะทำยังไงกับเหล่าแฟนคลับของแบรนด์ดี จำเป็นต้องทำอะไรมั้ย? จะจัดกิจกรรมแล้วเชิญลูกค้ามาร่วมงาน หรือทำแบบเดิม เก็บอยู่ในดาต้าไว้เฉยๆ ก็แล้วแต่ว่า แต่ละรายอยากให้ความสำคัญ โฟกัสที่ฐานแฟนของแบรนด์มากน้อยแค่ไหน เพราะแต่ละประเภทธุรกิจก็มีความแตกต่างกัน ถ้าเป็นแบรนด์ที่ active ให้ความสำคัญกับฐานลูกค้าที่ติดตามมานานๆ แบ่งเป็นประเภทลูกค้าไว้ แยกตามข้อมูลการซื้อสินค้า เราก็จะเห็นข้อมูลสำคัญว่า ลูกค้าประจำของเรายังคงซื้อสินค้าแบรนด์เราต่อเนื่อง หรือหายไปแล้ว
การทำกิจกรรมการตลาดที่มุ่งเน้นฐานแฟน ก็มีโอกาสเพิ่มยอดขายได้อยู่แล้ว เพราะลูกค้าเหล่านี้เค้าต้องชอบในสินค้า ถูกใจอะไรในแบรนด์บ้าง เมื่อมีอะไรมาใหม่หรือมีกิจกรรมใดๆที่เค้าเข้าร่วมแล้วเค้าได้ความสุขทางใจ ก็จะยิ่งผูกพันติดตามกันไป เพราะสมัยนี้การตลาดแบบเหวี่ยงแห ไม่มีลูกค้าที่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นกลุ่มใดก็อาจจะลำบาก เพราะในตลาดเค้าโฟกัสกลุ่มใครกลุ่มมัน เจาะจงกันเป็นเซกเม้นต์ที่ชัดเจนแล้วโฟกัสลงไป ก็อาจได้ผลลัพธ์ทางยอดขายตามต้องการ
เกี่ยวกับผู้เขียน: อ.บราลี (ลี)
*มีประสบการณ์การเป็นผู้บริหาร บริษัทที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์และสื่อสารการตลาด
การสร้างภาพลักษณ์องค์กร ดูแลวางแผนกลยุทธ์ให้ลูกค้าทุกประเภทธุรกิจ ทั้งภาครัฐและเอกชนมากกว่า 35 ปี
*ปัจจุบัน เป็นที่ปรึกษางานสื่อสารการตลาด ประชาสัมพันธ์ และการตลาดออนไลน์ให้กับหน่วยงานภาครัฐ องค์กร และ SME
*เป็นเจ้าของธุรกิจ จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่อต้านความเสื่อมชราระดับยีนทั้งอาหารเสริม และอุปกรณ์ความงาม
*มีคลาสแนะนำ “การทำธุรกิจโกลบอลออนไลน์บนแพลตฟอรม์ที่ขยายไปยังต่างประเทศ” ฟังฟรี!! ให้กับ SME ที่สนใจธุรกิจออนไลน์ที่ทำตลาดต่างประเทศได้ ผ่าน ZOOM ตามวันและเวลาที่นัดหมาย
*มีคลาส สอน Line Official Account (Line OA) ไพรเวทคลาส 1 วันเต็ม
ติดต่อสอบถามแอดไลน์ที่นี่ค่ะ https://lin.ee/smo5I3X