ไทยเผชิญสภาวะ “เอลนีโญ” ยาวนาน กดดันภาคเกษตรผลิตลดลง ขณะที่สหภาพยุโรปจ่อภาษีคาร์บอน ด้านไทยคาดจะได้เห็นร่างกฎหมายคาร์บอนในปีหน้า ตอกย้ำมาตรการ Net Zero จำเป็นต่อภาคธุรกิจ “เอกา โกลบอล” ผู้นำเทรนด์บรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหาร แนะผู้ประกอบปรับโมเดลธุรกิจรองรับด้านสิ่งแวดล้อม ชูนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหารแห่งอนาคต ตัวช่วยสำคัญ ขับเคลื่อนธุรกิจสู่การเติบโตเพื่อความยั่งยืน
นายชัยวัฒน์ นันทิรุจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอกา โกลบอล จำกัด (EKA GLOBAL) ผู้นำตลาดนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหาร (Longevity Packaging) เปิดเผยว่า รายงานจากกรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ระบุว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในสภาวะ “เอลนีโญ” ซึ่งจะยาวนานไปจนถึงช่วงมกราคม – มีนาคม 2567 และคาดว่าในเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2566 จะมีฝนตกน้อย ขณะที่อุณหภูมิมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยผลกระทบจากปรากฎการณ์ดังกล่าวจะส่งผลต่อผลผลิตกลุ่มพืชเศรษฐกิจของภาคเกษตรกรรมของไทยปรับลดลง
“ประเทศไทยเป็นประเทศส่งออกอาหารรายสำคัญของโลก และยังมีบทบาทเป็นครัวโลก (Kitchen of the world) ประเด็นเรื่องโลกร้อน เป็นกระแสที่ทั่วโลกพูดถึงมากขึ้นทุกวัน ไทยเองก็ต้องขยับตัวแล้ว เพราะสภาวะเอลนีโญ รอบนี้จะยาวนานขึ้น ฝ่ายวิจัยมองว่า ปีนี้-ปีหน้าจะเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของไทย แต่ผลกระทบต่อเนื่อง (Domino Effect) จะรุนแรงขึ้นในปี 2568”
อีกหนึ่งประเด็นที่ต้องจับตา คือ มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดนของสหภาพยุโรป (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) เป็นหนึ่งในมาตรการภายใต้นโยบายแผนปฏิรูปสีเขียวของสหภาพยุโรป การกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภทป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาในกลุ่มประเทศยุโรป จะเริ่มเข้าสู่ระยะเปลี่ยนผ่าน (Transition Period) ในวันที่ 1 ตุลาคม 2566 และจะมีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 1 มกราคม 2569 ขณะที่ไทยเอง มีคาดการณ์ว่าในภายในปีหน้า น่าจะได้เห็นร่างกฎหมายคาร์บอนเกิดขึ้นในประเทศไทยเช่นกัน
กระแสดังกล่าว เป็นการตอกย้ำว่า มาตรการ Net Zero มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับภาคธุรกิจ ซึ่งรวมถึงกลุ่มธุรกิจอาหารที่จะเพิกเฉยไม่ได้ จำเป็นต้องเร่งปรับโมเดลธุรกิจและเตรียมมาตรการรองรับเรื่องสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่าจะมีต้นทุนที่สูงขึ้นก็ตาม
“สภาวะเอลนีโญในไทยและทั่วโลก รวมถึงกฎหมายด้านภาษีที่กำลังเข้มข้นมากขึ้น ตอกย้ำ ว่าผู้ประกอบการจะเมินเฉยไม่ได้ เพราะแน่นอนว่า ท้ายที่สุด ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม หากไม่ดำเนินการก็จะมีผลกระทบต่อการทำธุรกิจอย่างแน่นอน”
ทางด้านผู้บริโภค นายชัยวัฒน์ มองว่าปัญหาขยะอาหาร (Food Waste) เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจาก 1 ใน 3 ของอาหารที่ผู้คนบริโภคในแต่ละวันนั้น ได้กลายเป็นขยะอาหารที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และทำให้โลกร้อนขึ้นมากกว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่า โดยสาเหตุจากการทานอาหารไม่หมด อาหารหมดอายุก่อนรับประทาน และอาหารถูกคัดทิ้งในกระบวนการผลิต เป็นต้น ผู้บริโภคทั่วโลกเริ่มให้ความสำคัญกับการกำจัดเศษอาหารอย่างถูกต้อง ซึ่งอาจจะทำได้ตั้งแต่การวางแผนการซื้อวัตถุดิบ การใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่า และการจัดเก็บวัตถุดิบในบรรจุภัณฑ์แห่งอนาคตที่ช่วยยืดอายุอาหารให้อยู่ได้ยาวนานขึ้น
ทั้งนี้ นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหาร บรรจุภัณฑ์แห่งอนาคตมาตรฐานสากลของ “เอกา โกลบอล” ออกแบบมาเพื่อรอบรับกับการใช้ชีวิตของผู้บริโภคคนรุ่นใหม่และใส่ใจสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ เป็นบรรจุภัณฑ์คุณภาพสูง ผลิตจากวัสดุเกรดอาหารในโรงงานที่มีกระบวนการผลิตปลอดภัยได้มาตรฐานสากล มีสภาพแวดล้อมการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ
นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ยืดอายุอาหาร “เอกา โกบอล” มีคุณสมบัติในการรักษาคุณภาพอาหาร คงกลิ่นและรสชาติของอาหาร มีความปลอดภัย ช่วยป้องกันการรั่วซึม ปลอดสารพิษ และรีไซเคิลได้ 100% ซึ่งสามารถรับประกันได้ว่า ผู้ผลิตอาหารสามารถจัดเก็บและจัดส่งอาหารไปยังผู้บริโภคปลายทางในสภาพเดียวกับที่ออกจากสายการผลิต ขณะที่ผู้บริโภคเองสามารถวางใจได้ว่าจะได้รับอาหารที่มีคุณภาพสูง อร่อย อาหารมีความปลอดภัย (Food Safety) และมีสุขภาพที่ดี
ผลิตภัณฑ์ยังมีรูปทรงที่สวยงาม จัดเก็บง่าย สามารถจัดวางนอกตู้เย็นได้ยาวนานถึง 2 ปี โดยที่อาหารไม่เน่าเสีย พร้อมมอบความสะดวกสบาย สามารถนำเข้าไมโคเวฟอุ่นอาหารเพื่อรับประทานได้ทันที
“ทุกผลิตภัณฑ์ของเอกา โกลบอล รีไซเคิลได้ 100% เรายังมีบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม (กรีนโปรดักต์) ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ Bioplastic (PLA) บรรจุภัณฑ์ Biodegradable ที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติทั้งหมดและสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล (PCR) หรือ เรซิน รีไซเคิล ฯลฯ บรรจุภัณฑ์แห่งอานาคต จะเป็นตัวช่วยที่ดีให้กับผู้ผลิตอาหารสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน เพราะนอกจากจะตอบโจทย์เรื่องสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าดูดียิ่งขึ้น และเป็นตัวช่วยขยายฐานลูกค้าที่วงกว้างมากขึ้น หรือ จะส่งออกไปต่างพื้นที่ ต่างภูมิภาค หรือ ต่างประเทศ ก็ได้ ช่วยลดต้นทุนการผลิตและขนส่งด้วย”