4 กลโกงมิจฉาชีพทางออนไลน์ที่ผู้ประกอบการธุรกิจต้องรู้ให้ทัน

คอลัมน์: สื่อสารการตลาดตามใจฉัน

โดย…บราลี อินทรรัตน์

ยุคนี้แทบจะไม่มีผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจรายใดที่ไม่ทำธุรกิจค้าขาย หรือให้บริการใดๆบนออนไลน์ เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะเจอกับกลโกงมิจฉาชีพทางออนไลน์ก็มีสูง ไม่แพ้ชาวบ้านคนธรรมดาทั่วไปที่ชอบช้อปสินค้าทางออนไลน์ หรือถูกล่อลวง หลอกล่อให้โอนเงิน หรือหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัว เพื่อเข้าไปถึงข้อมูลการเงิน มารู้ตัวอีกทีก็เงินเกลี้ยงบัญชีไปแล้ว

ผู้เขียนรวบรวมกลโกงหลักๆที่เคยพบเคยเห็น ที่ตกเป็นข่าวและที่ยังไม่ตกเป็นข่าว เพราะยังไม่ได้ทำความเสียหายที่ชัดเจนนอกจากการให้ข้อมูลเท็จ  ซึ่งบางวิธีการหลายท่านที่อ่านอาจบอกรู้อยู่แล้ว ก็ขอมาช่วยกันย้ำช่วยกันระวังอีกที

1.ถูกปลอมเพจเฟซบุ๊ค แล้วเอาเพจไปหลอกลวงชาวบ้านด้วยวิธีต่างๆนาๆ

ถ้าคุณอยู่ในธุรกิจร้่านอาหาร โรงแรมที่พัก ภัตตาคาร รีสอรท์  ท่องเที่ยว ยิ่งเพจมีผู้ติดตามสูงๆ ยิ่งมีความเสี่ยงสูง   หากเจ้าของธุรกิจไม่ได้เข้ามาดูแลใกล้ชิด  มักจะปล่อยให้แอดมินที่จ้างมาทำงานไปตามหน้าที่  เพราะเพจปลอมจะใช้โลโก้ ชื่อเพจ รูปภาพในเพจเหมือนเพจจริงของคุณเป๊ะๆ ชนิดที่แยกไม่ออกทีเดียวถ้าไม่ใช่ผู้ติดตามที่ตามกันมานานๆ

กลโกงที่เจอกันบ่อยๆ

  • สร้างโปรโมชั่นลดราคาห้องพัก  เมนูอาหารบุฟเฟต์ราคาพิเศษเฉพาะช่วง  จองตั๋วเครื่องบินพร้อมที่พักในต่างจังหวัด ต่างประเทศด้วยแพคเกจที่ถูกมากๆ แต่เมื่อไปใช้บริการจริงกลับไม่ตรงปกกับที่โปรโมทไว้  หรือไม่มีบริการห้องพัก ตั๋วเครื่องบินที่ว่าเป็นบริการที่เป็น “ทิพย์”คือไม่มี แต่จ่ายเงินไปแล้ว
  • แอบอ้างเพจของบริษัท องค์กรเอกชนดังๆ เปิดรับสมัครจ้างงานออนไลน์  จ่ายเงินเดือนต่อวันหรือต่อเดือน เท่านั้นเท่านี้  มีทั้งต้องจ่ายเงินบางส่วนก่อนทำหรือไม่ต้องจ่ายเงิน แล้วก็ยิงแอดโฆษณาทางเพขเฟซบุ๊คที่แอบอ้างมานั่นแหล่ะ ก็จะมีคนหลงเชื่อเข้าไปสมัครงานกันมากมาย ซึ่งคนปลอมเฟซที่ว่า ก็จัดงานที่ทำให้แบบไม่ตรงปก อาจต้องจ่ายเงินลงทุนก้อนแรก เพื่อได้สิทธิ์บางอย่าง หรือให้ไปทำขายตรงแบบบ้านๆ ขายของชวนคนโดยเอาเงินคอมมิชชั่นมาล่อ  ใครนกรู้ร้องเรียนไปทางเฟซบุ๊คส์ล่ะก้อ  เฟซบุ๊คส์จะตอบมาว่า ได้ตรวจสอบแล้วไม่พบการหลอกลวงใดๆ (อันนี้ฮาแบบหัวเราะไม่ออก เพราะทางการเราก็ทำอะไรกับเฟซบุ๊คส์ไม่ได้)   ในส่วนนี้มีทั้งเพจรัฐวิสาหกิจ สายการบินต่างๆ จ้างไปคอนเฟิรม์ไฟลท์  ซึ่งทำให้หน่วยงาน บริษัทเจ้าของเพจเสียหาย หากเพจปลอมไปหลอดลวงชาวบ้าน มีความเสียหายเกิดขึ้น องค์กรก็เสื่อมเสียชื่อเสียงได้ เพราะประชาชนทั่วไปไม่สามารถแยกออกว่า อันไหนจริง อันไหนปลอม
  • แอบอ้างตัวบุคคลที่เป็นที่รู้จัก อย่างเจ้าของธุรกิจอมตะ เครือซีพี หรือชวนลงทุนให้ลงหุ้นของบริษัท โดยให้กำไรต่อหุ้นราคาต่ำมากๆ  อันนี้ปัจจุบันยังเห็นทางเฟซบุ๊คซ์ยิงแอดโฆษณามาทุกๆวัน

2.กลโกงกับร้านอาหาร

หากทำร้านอาหาร อาจเจอกลโกงลูกค้าโทร.มาจองโต๊ะ ระบุจำนวนคนจำนวนมาก สั่งเมนูอาหารแพงๆ ล่วงหน้า ยอมจ่ายค่าอาหารมัดจำส่วนนึง (บางรายไม่จ่ายมัดจ่ายก่อน) เพื่อให้เจ้าของร้านตายใจ แล้วขอให้ช่วยโทรสั่งไวน์ราคาแพงๆเป็นหมื่นบาทขึ้นไปเป็นเงินสด โดยแนะนำร้านไวน์ที่บอกว่ากินเป็นประจำรู้จักกันดี (ซึ่งอาจเป็นหน้าม้าหรือพวกเดียวกันก็ได้) เมื่อเจ้าของร้านตายใจ โอนค่าไวน์เป็นเงินสดไปให้ แล้วหวังว่าจะมาเก็บในวันที่ ลูกค้ารายนี้มาทานอาหาร  ก็จะเจอว่าไวน์ที่สั่งไม่มาส่ง คนจองโต๊ะอาหารพร้อมจำนวนคนมาทานไม่มา ทำให้เจ้าของร้านต้องขาดทุนกับต้นทุนค่าอาหารวัตถุดิบที่ซื้อมาขายและเงินสดค่าไวน์หลักหมื่ินที่ถูกเชิดไป

3.แอบอ้างบริษัท สินค้าอุปโภค บริโภค ทำกิจกรรมสันทนาการ

เช่นแคมป์ ผู้สูงอายุ เยาวชน  เพื่อให้คนลงทะเบียนมาเรียน มาร่วมกิจกรรม บางงานต้องเสียค่าร่วมกิจกรรม เพื่อจองคิวในจำนวนจำกัด  โดยแอบอ้างชื่อวิทยากรดังๆในสายงานต่างๆ และเขียนโปรแกรมกิจกรรมแต่ละวันให้น่าสนุก  เพื่อดึงดูดให้คนมาลงทะเบียนในช่วงเวลาจำกัด  หากลงช้าจะไม่ได้ราคานี้ แบบ early bird น่ะแหล่ะ  หากใครหลงเชื่อไม่โทรเช๊คองค์กรนั้นๆ เผลอลงทะเบียนโอนเงินไป ก็เรียบร้อยเพราะจะไม่สามารถติดต่อเพจนั้นๆได้อีก

4.กลโกงทางด้านการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ 

ขอไม่พูดถึงเยอะ เพราะเป็นกลโกง ที่หลายท่านน่าจะคุ้นเคยกันดี ไม่ว่าจะเป็น สั่งของแล้วไม่ได้ ปิดเพจหนี ได้ของไม่ตรงปก หรือได้ของคนละอย่างกับที่สั่ง  ซึ่งจำนวนเงินอาจไม่ได้มาก ทำให้มิจฉาชีพได้ใจ  หากใครเจอปัญหานี้ก็โทรแจ้งอายัดเงินเจ้าของบัญชีปลายทางที่รูดบัดรกับธนาคารนั้น หรือ แจ้งร้องเรียนกับหน่วยงาน กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ตำรวจไซเบอร์) ที่เรียกสั้นๆว่า บช.สอท. หรือใครโดนไปแล้วให้แจ้งความที่เว็บไซด์นี้ที่เดียวเท่านั้น www.thaipoliceonline.com  สายด่วน 1441 หากไม่อยากตกเป็นเหยื่ออย่าไปแจ้งความหรือให้ข้อมูลส่วนตัวกับเว็บไซด์หน่วยงานราชการ หรือเพจเฟซบุ๊คส์ต่างๆที่ใช้ชื่อหน่วยงานราชการ หรือชื่อตำรวจที่มีหน้าที่ทางไซเบอร์คล้ายๆกัน เพราะมันคือมิจฉาชีพทั้งนั้น

ที่ปลอมเพจคำรวจ ปลอมเว็บไซด์ตำรวจ เพื่อเอาข้อมูลส่วนตัวเราไปทำธุรกรรมบางอย่าง หากเป็นเพจของตำรวจไซเบอร์จริงๆ สังเกตุได้ที่เครื่องหมายถูก verfiy สีฟ้าของMeta อยู่ที่ชื่อเพจน่ะแหละ

ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจจะป้องกันกลโกงทางออนไลน์ได้ยังไง?

1.เจ้าของธุรกิจควรเข้ามาสอดส่องช่องทางโซเชี่ยลมีเดีย ที่ทางแบรนด์ตัวเองเปิดไว้ทุกช่องทาง ว่ายังทำงานได้ตามปกติหรือไม่ โดยเฉพาะเจ้าของสินค้าที่เคยเปิดเพจไว้ แล้วไม่ได้ทำงานแบบแอคทีฟ ไม่ได้โพสต์สินค้าทุกวัน ไม่ได้เข้ามาดูเพจตัวเองเลย  เพจอาจถูกมิจฉาชีพแฮกไปใช้ หรือมีการปลอมเพจแล้วหรือเปล่า?

2.การตั้งคนเป็นแอดมิน ควรมีมากกว่า 1 คน และหนึ่งในนั้นควรเป็นเจ้าของธุรกิจเอง หรือคนที่ทางเจ้าของแบรนด์ไว้วางใจได้ เพราะเมื่อเกิดเหตุเพจถูกปิด  ถูกแฮก ยังเหลือแอดมินคนอื่นๆกู้เพจคืนมาได้  แต่ถ้าเจ้าของแบรนด์เป็นแอดมินเองคนเดียว ไม่ได้ตั้งใครเป็นแอดมินร่วมก็เรียบร้อย เพจปลิวแล้วปลิวเลย

3.เจ้าของสินค้า หรือผู้ประกอบการควรเข้ามาใช้งานช่องทางโซเชียลมีเดียของตัวเองทุกช่องทางทุกวัน ((ถึงแม้จะมีแอดมินดูแลก็ตาม) เพื่อให้เจ้าของธุรกิจได้พบเห็นสิ่งปกติ ได้ไวกว่ารอรับการรายงานจากแอดมิน

4.กรณีที่ผู้ประกอบการสร้างแบรนด์จนติดตลาด  มีคนจำชื่ิอแบรนด์ได้ มีจำนวนคนติดตามมากหลักหมื่นขึ้นไป ขอแนะนำให้ติดต่อเมต้า เพื่อรับเครื่องหมาย verify โลโกสีฟ้า เพื่อเป็นการยืนยันช่องของตัวเองว่าเป็นช่องจริง โดยเสียค่าบริการกัลเมต้าหลักร้อยบาทต่อปี  นับว่าคุ้มค่ามาก ดีกว่าปล่อยให้เกิดความเสียหายใด ๆยิ่งถ้าถูกปลอมแล้วมีเคสถูกแจ้งความ ตำรวจอาจต้องมาขอเมต้า อายัดเพจจริงไว้เพื่อทำการสืบสวนสอบสวนก่อน แล้วค่อยคืนให้ ก็จะเกิดความเสียหายต่อธุรกิจได้

เพราะฉะนั้นกลโกงจากมิจฉาชีพมีมากมายหลายรูปแบบ และไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะช่องทางเพจเฟซบุ๊คส์เท่านั้น  แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่องทางโซเชี่ยลมีเดียที่ทางผู้ประกอบการมีใช้งาน หากเราได้รู้ทัน เตรียมพร้อมทีมงานที่เกี่ยวข่้องก็จะช่วยให้เรารับมือกลโกงต่างๆได้อย่างทันท่วงที ไม่เกิดความเสียหายใดๆ ค่ะ


เกี่ยวกับผู้เขียน: อ.บราลี (ลี)

*มีประสบการณ์การเป็นผู้บริหาร บริษัทที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์และสื่อสารการตลาด

การสร้างภาพลักษณ์องค์กร ดูแลวางแผนกลยุทธ์ให้ลูกค้าทุกประเภทธุรกิจ ทั้งภาครัฐและเอกชนมากกว่า 35 ปี

*ปัจจุบัน เป็นที่ปรึกษางานสื่อสารการตลาด ประชาสัมพันธ์ และการตลาดออนไลน์ให้กับหน่วยงานภาครัฐ  องค์กร และ SME

*เป็นเจ้าของธุรกิจ จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่อต้านความเสื่อมชราระดับยีนทั้งอาหารเสริม   และอุปกรณ์ความงาม

*มีคลาสแนะนำ “การทำธุรกิจโกลบอลออนไลน์บนแพลตฟอรม์ที่ขยายไปยังต่างประเทศ” ฟังฟรี!! ให้กับ SME  ที่สนใจธุรกิจออนไลน์ที่ทำตลาดต่างประเทศได้ ผ่าน ZOOM ตามวันและเวลาที่นัดหมาย

*มีคลาส สอน Line Official Account (Line OA) ไพรเวทคลาส 1 วันเต็ม

ติดต่อสอบถามแอดไลน์ที่นี่ค่ะ  https://lin.ee/smo5I3X

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *