แนวโน้มและกลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการและ SME ไทยในปี 2025

คอลัมน์: สื่อสารการตลาดตามใจฉัน

โดย…บราลี อินทรรัตน์

ในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธุรกิจ SME ของไทยต้องปรับตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อคงความสามารถในการแข่งขัน การเข้าใจแนวโน้มการตลาดออนไลน์ในปี 2025 จะเป็นกุญแจสำคัญต่อความสำเร็จทางธุรกิจ ช่วงนี้เป็นช่วงที่องค์กรธุรกิจประเมินผลงานช่วงสุดท้ายและวางแผนงาน ปรับเปลี่ยนสิ่งที่ต้องแก้ไขให้ดีขึ้น อะไรดีแล้วก็ทำต่อให้ดียิ่งขึ้น ผู้เขียนขอรวบรวมข้อมูลแนวทางจากที่ได้จากการเป็นที่ปรึกษาธุรกิจให้กับบริษัทเอกชนต่างๆ ว่าเค้าคิดว่าอะไรมา อะไรไป และสิ่งใดยังคงอยู่ต่อเนื่องยาวไปในปี 2025 นี้

แนวโน้มการตลาดดิจิทัลที่ SME ควรจับตา

1. การตลาดแบบเจาะจงรายบุคคล (Hyper-Personalization)

ลูกค้าในปี 2025 คาดหวังประสบการณ์ที่ออกแบบมาเฉพาะตัว ธุรกิจ SME ควรใช้ AI และข้อมูลอินไซด์เจาะลึกพฤติกรรมการซื้อ การใช้งานโซเชี่ยลมีเดียของลูกค้าเพื่อสร้างเนื้อหาและข้อเสนอที่ตรงใจลูกค้าแต่ละราย กลยุทธ์นี้ช่วยเพิ่มอัตราการมีส่วนร่วมและยอดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเรื่องนี้นักการตลาด เจ้าของแบรนด์ไม่สามารถทำการตลาดแบบหว่านแห ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายได้อีกต่อไปแล้ว การที่แบรนด์เก็บดาต้าของลูลลูกค้า จึงเป็นข้อดีที่ควรทำต่อไป เพื่อนำข้อมูลนั้นมาคิดบริการใหม่ๆ โปรโมชั่นๆใหม่ๆ เจาะจงให้กับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งแน่นอนลูกค้าส่วนใหญ่ก็ชอบความเป็นพริวิเลจอยู่แล้ว

2. คอนเทนต์วิดีโอแบบสั้นและมีอินเทอร์แอคทีฟ

แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยังคงให้ความสำคัญกับวิดีโอสั้น ๆ ที่น่าสนใจ SME ควรสร้างคอนเทนต์วิดีโอที่กระชับ สนุก และมีส่วนร่วม โดยเฉพาะบนแพลตฟอร์มยอดนิยมอย่าง TikTok, Instagram Reels, Line Voom และ YouTube Shorts กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ ผู้ประกอบการไม่ควรละทิ้ง เพิกเฉยต่อการทำคลิปวิดีโอแนวสั้น ในการนำเสนอไอเดียขายสินค้า สร้างแบรนด์ สร้างสตอรี่ของแบรนด์ ทำโปรโมชั่น ยิ่งถ้าทำคลิปสั้นที่สนุกตื่นเต้น ชวนให้ดูต่อจนจบไม่โดนปัดทิ้งเสียก่อน ก็ถือว่าสำเร็จแล้วนะสมัยนี้ ยุคที่มีคนทำคลิปสั้นลงแพลตฟอรม์โซเชี่ยลวันละเป็นล้านๆคลิป แล้วคลิปคุณมีคนดูจนจบ ที่สำคัญการให้คนดูทำบางสิ่งบางอย่างก่อนจบคลิป (call to action) ถือว่าห้ามลืมเด็ดขาด ไม่งั้นถือว่าการสื่อสารครั้งนี้อาจไม่ได้ผลลัพธ์ที่ทางแบรนด์ต้องการ

3. การตลาดผ่านช่องทางสื่อสารหลายแพลตฟอร์ม (Omnichannel Marketing)

ลูกค้าต้องการความต่อเนื่องในประสบการณ์การใช้งาน SME ควรสร้างกลยุทธ์การสื่อสารที่สอดคล้องกันระหว่างช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ทั้งเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย แอปพลิเคชัน และร้านค้าจริง กิจกรรมการตลาดที่วางแผนไว้ ควรครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้า ไม่ว่าจะมีหน้าร้าน มีร้านค้าออนไลน์ การสร้างกิจกรรมการตลาด เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าไม่ว่าจะเข้ามาถึงแบรนด์ทางใดก็ตาม ย่อมได้รับผลตอบรับที่ดีมากกว่า มีเฉพาะช่องทางใดช่องทางนึง เช่นถ้าจัดโปรโมชั่นทางร้านค้าเท่านั้น ทางออนไลน์ก็ต้องมีโปรโมชั่นที่ใกล้เคียงกัน แบบเดียวกัน หรือสิทธิพิเศษที่ไม่ต่างกันจนเกินไป เพื่อไม่ให้เสียโอกาสการขาย กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไปเลย

4. ปัญญาประดิษฐ์และระบบอัตโนมัติ (AI and Automation)

เครื่องมือ AI จะช่วยให้ SME สามารถทำการตลาดได้อย่างฉลาดและคุ้มค่า ยุคนี้หากใครไม่ใช้บริการ AI ช่วยวางแผนกลยุทธ์การตลาดต่างๆ อาจจัดว่าพลาดการมีผู้ช่วยการตลาดตัวเอ้ นอกจากนี้ยังมี chatbot, ระบบแนะนำสินค้าอัจฉริยะ การโต้ตอบคำถาม การจัดการด้าน CRM แบบเจาะลึกอย่างที่บริษัทไลน์ ประเทศไทยมีให้บริการผู้ประกอบการและเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าและเพิ่มประสิทธิภาพการขาย เครื่องมือต่างๆเหล่านี้ต่างถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับธุรกิจต่างๆของผู้ประกอบการนั่นเอง มีโอกาสได้ใช้ก็ถือว่ามีประสบการณ์

5. การตลาดเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Marketing)

เทรนด์นี้ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องมาหลายปี แบบไม่มีตก สินค้าหรือองค์กรใดมีvision ที่มุ่งไปในด้านนี้มักได้คะแนนนิยมจากผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับแบรนด์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม ทั้งเรื่องรักษ์ป่า รักษ์โลก การรีไซเคิล รียูส นำวัสดุ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว เอามาแลกคืนรับส่วนลดเพื่อซื้อชิ้นใหม่ หรือนำไปรีไซเคลแปรรูปเป็นวัสดุอื่นที่มีประโยชน์ การใช้แนวคิดนี้ มีส่วนลดขยะลดโลกร้อน หรือกิจกรรมเพื่อสังคมที่เน้นการอุ้มชูชุมชน ดูแลสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ถือเป็นจุดเด่นของแบรนด์ ที่สามารถนำมาโปรโมทได้ตลอดทั้งปี SME ควรสื่อสารค่านิยมและความรับผิดชอบทางสังคมผ่านช่องทางดิจิทัลเพื่อเชื้อเชิญกลุ่มลูกค้ามาร่วมกิจกรรม หรือหันมาซื้อสินค้าที่แบรนด์ให้ความสำคัญเรื่องพวกนี้

6. การตลาดบนแพลตฟอร์มชุมชน (Community Platform Marketing)

การสร้างชุมชนออนไลน์รอบแบรนด์จะช่วยสร้างความภักดีและการมีส่วนร่วมระยะยาว กลยุทธ์นี้รวมถึงการใช้กลุ่มบน Facebook หลังจากมีแฟนเพจแล้ว ผู้ประกอบการควรเชื้อเชิญสมาชิกเพจเข้ามาร่วมเฟซบุ๊คกลุ่ม เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมหรือได้รับสิทธิพิเศษต่างๆที่ไม่เหมือนในแฟนเพจ การสร้างคอมมูนิตี้บน Line อย่างไลน์กลุ่ม และOpenchat ที่เป็นชุมชนที่แบรนด์ควรใช้ให้เกิดประโยชน์ และการใช้ฟีเจอร์คอมมูนิตี้บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ก็ยังเป็นความนิยมที่ไม่ตกยุคในปีหน้านี้

กลยุทธ์การนำเทรนด์ต่างๆเหล่านี้ไปใช้ มีความจำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องลงมือทำจนเกิดผลลัพธ์ที่ดี ซึ่งไม่ได้เกิดจากคนใดคนหนึ่งในองค์กร แต่เกิดจากทีมงานในองค์กร ที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ โดยจะต้องพัฒนาตามประเด็นเหล่านี้

การพัฒนาทักษะดิจิทัล: ลงทุนในการอบรมทีมให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีและการตลาดดิจิทัล

การทดลองและปรับตัว: ทดสอบกลยุทธ์ใหม่ ๆ และพร้อมปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว

การวิเคราะห์ข้อมูล: ใช้เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าและวัดผลการตลาด

การตลาดดิจิทัลในปี 2025 จะมุ่งเน้นที่ประสบการณ์ส่วนตัว ความยืดหยุ่น และการใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด SME ไทยที่พร้อมปรับตัวและเรียนรู้จะสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและเติบโตอย่างยั่งยืน


เกี่ยวกับผู้เขียน: อ.บราลี (ลี)

*มีประสบการณ์การเป็นผู้บริหาร บริษัทที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์และสื่อสารการตลาด

การสร้างภาพลักษณ์องค์กร ดูแลวางแผนกลยุทธ์ให้ลูกค้าทุกประเภทธุรกิจ ทั้งภาครัฐและเอกชนมากกว่า 35 ปี

*ปัจจุบัน เป็นที่ปรึกษางานสื่อสารการตลาด ประชาสัมพันธ์ และการตลาดออนไลน์ให้กับหน่วยงานภาครัฐ  องค์กร และ SME

*เป็นเจ้าของธุรกิจ จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่อต้านความเสื่อมชราระดับยีนทั้งอาหารเสริม   และอุปกรณ์ความงาม

*มีคลาสแนะนำ “การทำธุรกิจโกลบอลออนไลน์บนแพลตฟอรม์ที่ขยายไปยังต่างประเทศ” ฟังฟรี!! ให้กับ SME  ที่สนใจธุรกิจออนไลน์ที่ทำตลาดต่างประเทศได้ ผ่าน ZOOM ตามวันและเวลาที่นัดหมาย

*มีคลาส สอน Line Official Account (Line OA) ไพรเวทคลาส 1 วันเต็ม

ติดต่อสอบถามแอดไลน์ที่นี่ค่ะ  https://lin.ee/smo5I3X

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *