คอลัมน์: สื่อสารการตลาดตามใจฉัน
โดย…บราลี อินทรรัตน์
อะไรคือ Affiliate Marketing?
เรียกแบบเข้าใจง่ายๆ ไทยๆ เราก็คือการทำการตลาดร่วมกันกับพันธมิตรธุรกิจ ในไทยยังไม่ได้ฮิตมากเท่าไหร่เท่าในต่างประเทศที่ทำกันมาหลายปีแล้ว แต่ก็มีท่าทีที่จะมีผู้ใช้การตลาดแบบนี้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยต้องมีองค์ประกอบ 3 ฝ่าย สนับสนุนซึ่งกันและกัน
สมัยนี้ถ้าเรามีสินค้า และขายอยู่คนเดียวเราอาจจะหืดขึ้นคอ (เว้นว่าสินค้าเราเป็นที่ต้องการของตลาดมากๆ) แต่ถ้าไม่ใช่ การมองหาพันธมิตรที่จะมาช่วยเราค้าขายสินค้า หรือบริการที่เรามี ให้มียอดขายเพิ่มขึ้นจึงเป็นเรื่องที่ “เยี่ยม” มาก ๆ และแน่นอนใช้ช่องทางออนไลน์เป็นหลัก
3 ฝ่ายที่ว่า ประกอบด้วย:
- เจ้าของแบรนด์สินค้า หรือบริการ (Advertiser)หรือเจ้าของเว็บไซด์ที่มีสินค้า ที่ต้องการโปรโมทหรือขายสินค้า/บริการ หรือบริการต่างๆ ให้เราเลือกทำการตลาดด้วย โดยมีเงื่อนไขการจ่ายเงินตามตกลงไว้
- เจ้าของเว็บไซต์ (Publisher)หรือคนที่มีช่องทางสื่อโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ เช่น เว็บไซด์ บล็อกเกอร์ แฟนเพจ ฯลฯ
- (Customer)ลูกค้าที่มาช้อปสินค้าผ่านช่องทางโซเชี่ยลมีเดียของเรา
หลักการของการทำ Affiliate Marketing การทำการตลาดออนไลน์ที่เรา (Publisher) นำสินค้าของเจ้าของแบรนด์ไปโปรโมทผ่านช่องทางออนไลน์ โดยที่เราไม่ต้องเป็นเจ้าของสินค้า ไม่ต้องสต็อกสินค้า แล้วก็ไม่ต้องส่งสินค้า เจ้าของสินค้าเป็นผู้จัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าที่สั่งซื้อเอง เพียงแค่เอาสินค้าไปโปรโมท หรือเขียนรีวิวสินค้าแล้วแชร์ลิงก์สินค้าไปทางช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่เรามี ถ้ามีลูกค้ามาอ่านแล้วคลิกลิงก์ของเราทำการสั่งซื้อของ เราก็จะได้ค่าคอมมิชชั่นจากเจ้าของแบรนด์สินค้าหรือเจ้าของบริการนั่นเอง ซึ่งก็คือการที่เราทำหน้าที่ตัวแทนจำหน่าย หรือนายหน้านั่นเอง
ในกรณีที่ผู้ซื้อคลิกลิงค์ที่เราวางใต้รีวิวสินค้าที่เราเขียนถึง แต่คลิกดูเฉยๆ ยังไม่ซื้อ เว็บไซด์ส่วนใหญ่จะมีคุ๊กกี้เก็บข้อมูลไว้ถึง 30-90 วัน เมื่อลูกค้ารายนั้นกลับมาคลิกลิงค์อีกครั้งแล้วสั่งซื้อสินค้าสำเร็จ เราก็จะได้รับคอมมิชชั่นเช่นกัน
แต่ถ้าไม่ใช่สินค้า แต่เป็นบริการเช่น โหลดแอพ ลงทะเบียนสมัคร รับข้อมูลเพิ่ม เจ้าของบริการนั้นๆ (Advertiser) ก็จะจ่ายคอมมิชชั่นให้กับผู้แนะนำ (Publisher) บริการด้วยเช่นกัน
แล้วมันดียังไงกับผู้ประกอบการ?
1.เพิ่มยอดขายให้กับผู้ประกอบการ
การทำการตลาดแบบพันธมิตร Affiliate จัดว่าเหมาะมากๆ ในช่วงเวลานี้ ที่หลายธุรกิจกำลังเจอปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ยอดขายชะลอตัวหรือไม่มียอดขายเหมือนสมัยก่อนๆ การทำตลาดแบบนี้ เท่ากับว่าผู้ประกอบการจะมีคนมาช่วยคุณขายของเพิ่มขึ้น ทำให้คุณมีรายได้เพิ่มขึ้น
2.ลดค่าใช้จ่ายในองค์กร
หากธุรกิจคุณมีความจำเป็นต้องเอาพนักงานบางส่วนออก หรือลด cost ทุกอย่างที่ลดได้ ธุรกิจชะลอตัว การจ่ายเงินพนักงานที่ทำงานประจำทุกๆเดือน
อาจสร้างความกดดันและภาระในการหาเงินสำรองจำนวนมาก จ่ายให้พนักงานทุกๆเดือนในขณะที่ยอดขายชะลอตัว
การจ่ายเงินค่าคอมมิชชั่นให้กับตัวแทนจำหน่าย ที่ขายสินค้าให้คุณๆ ผ่านลิงค์ทางออนไลน์ คุณไม่มีค่าจ้างประจำเช่น เงินเดือน ค่าน้ำมันรถ ค่าประกันชีวิต ค่าประกันสุขภาพ หรือแม้แต่ประกันสังคม คุณเพียงจัดสรรงบประมาณ 1 ก้อนเป็นค่าคอมมิชชั่นตามเงื่อนไขที่คุณต้องจ่ายเพียงเท่านั้น ซึ่งช่วยคุณลดค่าใช้จ่ายต่างๆในองค์กรได้อย่างดีค่ะ
3.ทำงานร่วมกับพันธมิตรที่เป็น Affiliate
การมีพันธมิตรทำงานร่วมกัน ทำให้ผู้ประกอบการมีทักษะและประสบการณ์ที่เพิ่มมากขึ้นในการทำการตลาดร่วมกัน อาจเป็นแคมเปญการตลาดร่วมกัน หากคุณเอาสินค้าลงผ่าน แพลตฟอรม์ที่ทำการตลาด Affiliate ในไทย อย่าง
Lazada, Youpik, Accesstrade, Ebay, CJ ในต่างประเทศและ Amazon ซึ่งการทำการตลาดแบบนี้ ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องลงทุนทั้งงบประมาณมหาศาลและเทคโนโลยี่ในการใช้งานเพื่อทำแพลตฟอรม์เอง แต่ไปใช้ตัวกลางที่มีแพลตฟอรม์สร้างไว้ก็จะได้ประโยชน์ต่อธุรกิจมากกว่า
4.วิเคราะห์สินค้าให้เหมาะกับความต้องการของลูกค้า
การมีตัวแทนช่วยขายหลายๆคน คุณสามารถเก็บข้อมูลจากยอดขายมาวิเคราะห์ต่อไปได้อีก ถ้าหากคุณมีสินค้าหลายตัว เมื่อมีออเดอร์ตัวไหนที่มีคนคลิกลิงค์ Affiliate มากสุด ตัวไหนไม่มีคนมาคลิกลิงค์เลยในช่วงหลายเดือนผ่านมา เราก็จะได้วิเคราะห์สินค้าให้ตรงกับความต้องการแต่ละกลุ่มได้ดี การเลือก Publisher เจ้าของช่องทางโซเชี่ยลมีเดียต่างๆส่วนใหญ่มักเป็น Influencer ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก ให้มีคาแรคเตอร์ มีแบรนดิ้งของสื่อนั้นๆ ให้ตรงกับสินค้าของเรา ก็จะเป็นอีกหนึ่งวิธี ที่จะช่วยเพิ่มยอดขายให้เราได้ดียิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น ผู้เขียนเป็นเจ้าของเพจท่องเที่ยวก็มักจะเขียนรีวิว ที่กิน ที่เที่ยวแปลกๆใหม่ๆ (เจ้าของแบรนด์อาจเป็น โรงแรม ร้านอาหาร ร้านกาแฟสถานที่ท่องเที่ยว)ลงในบล็อก ในเพจ ในเว็บไซด์ของเรา แต่ถ้าผู้เขียนไปเขียนรีวิวสินค้าเกี่ยวกับเครื่องกีฬาที่ต้องเล่นในยิม ก็อาจจะไม่เหมาะในการจับคู่ทำการตลาดแบบพันธมิตร
เราได้ทำความรู้จักการทำการตลาดแบบพันธมิตรกันแล้ว ทีนี้อยู่ที่ว่า เราจะเลือกใช้การตลาดแบบพันธมิตรได้อย่างไร
*ถ้าเป็นเจ้าของสินค้า เจ้าของแบรนด์ เจ้าของบริการ อยากขายของ ก็จ่ายเงินค่าคอมมิชชั่น เพื่อรับยอดขายเพิ่ม
*อยากสร้างรายได้ ไม่มีงบผลิตสินค้าเองก็เป็น Publisher ตัวแทนขาย มีช่องทางโซเชี่ยลมีเดียหลายช่อง มีเว็บไซด์ ก็แนะนำสินค้าแชร์ลิงก์สินค้าออกไป มีลูกค้ามาคลิกสั่งซื้อก็รับเงินไป
ถือว่าการตลาดแบบพันธมิตรก็Win-Winทั้ง 3ฝ่าย ที่จะทำให้ผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจหลังโควิดระลอก 3 นี้ไปได้ด้วยดี
หากท่านใดสนใจมาเป็น publisher กระจายสินค้าหมวดสุขภาพและความงามให้กับผู้เขียน โดยไม่ต้องลงทุนแม้แต่บาทเดียว ไม่ต้องเปิดบิล ไม่ต้อง
สต๊อกสินค้า ไม่ต้องจัดส่งเอง หากมียอดขายก็รับรายได้ค้าปลีกไป ก็ติดต่อพูดคุยกับผู้เขียนได้ที่ช่องทางข้างล่างนี้ได้ค่ะ
เกี่ยวกับผู้เขียน: บราลี อินทรรัตน์ (ลี)
*มีประสบการณ์การเป็นผู้บริหาร บริษัทที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์และสื่อสารการตลาด การสร้างภาพลักษณ์องค์กร ดูแลวางแผนกลยุทธ์ให้ลูกค้าทุกประเภทธุรกิจ ทั้งภาครัฐและเอกชนมากกว่า 30 ปี
*ปัจจุบัน เป็นที่ปรึกษางานสื่อสารการตลาด และการตลาดออนไลน์ให้กับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรและSME
*เป็นเจ้าของธุรกิจ จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่อต้านความเสื่อมชราระดับยีนทั้งอาหารเสริมและอุปกรณ์ความงาม
*มีคลาสแนะนำ “การทำธุรกิจออนไลน์ที่มีแพลตฟอรม์” ฟังฟรี!! ให้กับ SME ที่สนใจธุรกิจออนไลน์ที่อยู่บนแพลตฟอรม์ ผ่าน Online ตามวันและเวลาที่นัดหมาย
*มีคลาส สอน Line Official Account (Line OA) ทั้งหลักสูตรพื้นฐาน และAdvance ให้ SME เรียนผ่านเฟซบุ๊คส์กลุ่มปิด และไพรเวทคลาส 1 วันเต็ม
ติดต่อสอบถามแอดไลน์ที่นี่ค่ะ>>> https://lin.ee/6lNppJi หรือ โทร.0841465665